ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา พระลากวัดเสมา เป็นพระพุทธรูปปางยืนอุ้มบาตร เนื้อทอง มีชื่อว่า พระอิศระชัย สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด มีอยู่ด้วยกัน 7 องค์ ซึ่งแยกอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ แต่ไม่รู้ที่มาแน่ชัด ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวัดพัทธเสมา ซึ่งชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและ จังหวัดใกล้เคียงต่างทราบกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ ใครบนบานขอสิ่งใดมักประสงค์ดังใจหวัง โดยตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งที่หล่อองค์พระ เกิดมืดฟ้ามัวดินฝูงชนชาวบ้านในพิธีเห็นเหตุการณ์ต่างก็วิ่งหนีกลับบ้าน เมื่อแสงสว่างมาก็พากันมาดู ก็ได้เห็นองค์พระหล่อเสร็จแล้วและมีความสวยงามมาก จึงพากันเชื่อว่าเทวดาได้ลงทำการหล่อจนเสร็จ และปาฏิหาริย์ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อได้กลับคืนมา ด้วยความศรัทธาชาวบ้านในพื้นที่จะมีการจัดพิธีสมโภชพระลากเป็นพระเพณีทุก ปี คือ เดือนหก และเดือนสิบเอ็ด โดยการสรงน้ำพระ และจัดประเพณีชักพระทางบกและทางน้ำ
ที่ตั้ง/ที่อยู่ : หมู่ที่ 5 ตำบลท่าดี
![[image[33].png]](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhW_-xBu-2pg_krclWuI-maUyPUgq8eGWmMPfTgJcQMmaGgVUgo8meN-Rhw_KnuRWmQQAywMfRl6DbU-_WI-Y52YNkM_SZ5epBYx6xFO5Vd7vU86tGptaVNBbWEebjFFCO7wQDnjyVnJ8g/s1600/image%5B33%5D.png)
วัดลานสกาใน
วังโบราณ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช
จากตำนานพระเจ้าศรีธรรมโศกราชของจังหวัดนครศรีธรรมราชของวัดมหาธาตุวรมหาวิหาร ว่าประมาณปี 1700-1800 เมืองนครศร๊ธรรมราชมีกษัตริย์ สาม พี่น้องพระเชษฐา ทรงพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมโศกราช" องค์รองชื่อ "จันทรภาณุ" องค์สุดท้ายนามว่า "พงษาสุระ" ทุกพระองค์ครองราชจะทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทั้งหมด ในช่วงนี้ได้สร้างความเจริญให้กับอาณาจักรเป็นอย่างมากทั้งโดยได้ครอบครองเมืองทั้งหลายตลอดแหลมมลายูเรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตรถือรูปดอกบัวเป็นสัญญลักษณ์ประจำเมืองนอกจากนี้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้บูรณะพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชซึ่งแบบเดิมเป็นแบบศรึวิชัย ให้เป็น แบบ ลังกาโดยก่อครอบเจดีย์เดิมเมื่อสิ้นสมัยกษัตริย์ สามพี่น้องแล้วหัวเมืองต่างๆในสุวรรณภูมิก็รวมตัวกันมีพระราชาปกครองต่อมาในสมัยพ่อขุนราม คำแหงได้มีการสร้างระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุ ทำกำแพงรอบทั้งสี่ด้าน สร้างวิหารติดกับองค์ เจดีย์ใหญ่และสร้างพระพุทธรูปขึ้นแทนองค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหารสามจอม และเรียกกันต่อมาว่าวิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้เกิดโรคห่าระบาดหลายครั้งพระองค์ต้องอพยพประชากร หนีโรคภัยออกจากเมืองหลายครั้งตามหลักฐานได้ปรากฎว่าหนีมาที่ ลานสกาและสถานที่ประทับก็คือ วังโบราณ แห่งนี้ โดยพระองค์ได้คิดวิธีแก้ไข้ห่า โดยเอาปรอทมาหุงขัดยา ทำเป็นหัวนอโม หว่านทั่วเมืองเพื่อขจัดโรคห่าให้หมดไปเมื่ือหมดจากโรคห่าพระองค์จึงเสด็จประทับที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นการถาวร สถานที่ตรงนั้นจึงเกิดเป็นวัดขึ้น ชื่อว่าวัดน้ำรอบแต่ต่อมาได้ย้ายวัดมาที่สถานที่ใหม่เนื่องจากสถานที่เก่าคับแคบ แต่ต่อมาในปี2510 ได้บูรณะขึ้นมาใหม่ได้มีการนำพระพุทธรูปจำลององค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช มาประดิษฐานที่นี่ด้วยในปี 2514 เพื่อเตือนใจว่าที่นี่เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชมาแต่ครั้งก่อน
ต่อมาในปี 2518 ที่นี่ได้เกิดอุทกภัย พระพุทธรูปองค์นี้ได้สูญหายไป ต่อจากนั้นชาวบ้านได้กล่าวขานกันว่า องค์พระได้มาเข้าฝันบอกว่าจมอยู่ไนน้ำนานแล้วให้ช่วยเอาขึ้นมาด้วยชาวบ้านก็ช่วยกันขุดแต่ก็ไม่สามารถหาเจอ จนกระทั่งในปี 2546ได้ทำการขุดค้นอีกครั้งและได้ทำการบวงสรวงเทพยด่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ได้ค้นพบชิ้นส่วนองค์พระในคราวนั้นและในเดือน กรกฎาคม 2546 ได้มีการค้นพบแท่นประทับของพระเจ้าศร๊ธรรมโศกราชโดยกล่าวกันว่า การต้นพบนั้นมาจากการเข้าฝัน
และในเดือน สิงหาคม ปีเดียวกันได้มีการบวงสรวง ดวงพระวิญญาณ ขององค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราชตามตำแนะนำของท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชและมีการสร้างพระผง พระเหรียญและตั้งชื่อ วัตถุมงคลรุ่นนี้ว่า
"รุ่นบันดาลโชค พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ลานสกา "
วัดดินดอน
วัดดินดอนตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวัดที่ตั้งขึ้นมาในสมัยรัตนโกสินทร์ราวแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โดยชาวบ้านท่าดีร่วมกันสร้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่ ประกอบบุญทางพระศาสนา เจ้าอาวาสและพระสงฆ์วัดดินดอนส่วนมากจึงเป็นบรรพบุรุษของชาวท่าดี และเป็นเครือญาติกัน ในอดีตมีเจ้าอาวาสวัดดินดอนรูปหนึ่งชื่อปาน เป็นพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม มีพลังจิตและตบะแก่กล้า มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือกันอย่างมาก
วัดคีรีวง
วัดคีรีวงเป็นวัดที่สำคัญของหมู่บ้าน เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวคีรีวง สถานที่วัดตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ ที่มีภูเขาล้อมรอบ ว่า “วัดคีรีวง” หมายถึงวัดที่อยู่ภายใต้วงรอบของภูเขา
ประวัติของวัดคีรีวง
ตามคำบอกเล่าได้ความว่า มีชาย 5 คนนำโดย ”ทวดนุ่น” ซึ่งเป็นคนยุคแรกๆของชุมชนไปทำนบกั้นน้ำที่ลำธาร ขณะเดินสำรวจบริเวณโดยรอบเพื่อจะตัดไม้มาสร้านบกั้นน้ำ ก็ได้พบกับเจดีย์เก่า ซึ่งไม่ระบุหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใดและมีพระพุทธรูปอยู่ด้วยองค์หนึ่ง คนเชื่อว่า สถานแห่งนี้เคยเป็นวัดมาก่อนต่อมาชาวบ้านรวมตัวกันบูรณะวัดเก่าขึ้นมาและ ตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดคีรีวง” ตามภูมิศาสตร์ดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น